วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การสืบพันธุ์ของแพนด้า


 

ระยะเวลาผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งในช่วงเวลานั้น ตัวเมียจะมีความต้องการเพียง 2 ถึง 3 วันเท่านั้น
สิ่งที่ทำให้ตัวผู้และตัวเมียมาพบกันคือ เสียงร้อง หรือสิ่งที่ถูกขับออกมาจากตัวผู้หรือตัวเมียตามจุดต่างๆ
เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม ตัวเมียใช้ระยะตั้งครรภ์ตั้งแต่ 95 ถึง 160 วัน   และถึงแม้ว่าแพนด้าตัวเมียสามารถ
ให้กำเนิดลูกแพนด้าฝาแฝดได้ แต่ส่วนใหญ่จะมีลูกแพนด้าเพียงตัวเดียวที่รอดชีวิต เนื่องจากอาหารที่จำกัด
ถ้ายกเว้นสัตว์จำพวกจิงโจ้แล้ว เราถือว่าลูกแพนด้าเป็นลูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เล็กที่สุด
ลูกแพนด้าที่เกิดใหม่มีน้ำหนักเพียง 4 ถึง 6 ออนซ์เท่านั้น (110 ถึง 170 กรัม) และยังไม่ลืมตา
ลูกแพนด้ามีการเจริญเติบโตที่ช้า  จะมีน้ำหนักเท่ากับแพนด้าพ่อ-แม่ของมันเมื่ออายุประมาณ 2 ถึง 4 ปี
ลูกแพนด้าจะอยู่กับแม่จนอายุประมาณ 2 ปี จึงออกไปเผชิญโลกด้วยตัวเอง
เนื่องจาก อายุที่สามารถสืบพันธุ์ได้ของแพนด้าตัวเมีย อยู่ในช่วงประมาณ 6 ถึง 20 ปี
และตัวเมียจะให้กำเนิดลูกอย่างมาก 2 ปี  ต่อลูกแพนด้า 1 ตัว
ดังนั้นแพนด้าตัวเมียสามารถให้กำเนิดลูกแพนด้าได้อย่างมากประมาณ 7 ตัว
ในช่วงอายุขัยของมัน ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการให้กำเนิดลูกที่น้อยมาก และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนแพนด้าที่เกิดใหม   ่จึงไม่สามารถทดแทนแพนด้าที่ตายไปจากการถูกล่าได้ การลดจำนวนลงอย่างมากของหมีแพนด้าในระยะเวลาที่ผ่านมา  ทำให้มีการตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่อนุรักษ์หมีแพนด้าขึ้น


แหล่งทีมา...http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-3/no29-39/P5.htm



อาหารสำหรับหมีแพนด้า



 แพนด้า กินใบไผ่ทั้งหมด 10 ชนิด ไผ่ที่ชอบกิน 5 อันดับแรก คือ ไผ่สี่เหลี่ยม หรือ ฟังจู๋ ,ไผ่มากินนอย หรือ กังจู๋ , ไผ่หยก หรือลิจู๋ ,ไผ่ขน หรือ เหมาจู๋และไผ่โชดิส 
หรือ กุ้ยจู๋ ทางสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และสถานีเกษตรหลวงปางดะ 
ได้ทำการขยายพันธุ์ไว้แล้ว โดยที่ไม่ต้องนำเข้าจากจีนแพนด้า 
แพนด้า ต้องกินอาหารจำนวนมาก ปกติจะกินอาหารตัวละ 30 กิโลกรัมต่อวัน
  และกินไม่เป็นเวลา จึงต้องมีอาหารเตรียมไว้ให้ตลอดเวลา และถ้าต้องเก็บใบไผ่ไว้ 
จะต้องจัดเก็บในห้องที่รักษาอุณหภูมิที่ประมาณ  3-7 องศาเซลเซียส

อาหารหลักของแพนด้าที่อาศัยในป่าคือต้นไผ่ บางครั้งในยามขาดแคลนอาหารหลัก
แพนด้าก็กินหัวของพืชประเภทที่เราใช้หัวเป็นอาหาร (เช่น แครอท มันฝรั่ง) หญ้า 
และสัตว์ขนาดเล็ก แพนด้าที่เลี้ยงในสวนสัตว์ (ต่างประเทศ) นอกจากจะได้กิน
ไผ่เป็นอาหารหลักแล้ว อาหารอื่นๆ ได้แก่ แครอท แอปเปิ้ล มันฝรั่ง 

แหล่งทีมา...http://student.nu.ac.th/Lannaa/null/null/page10.html


การสื่อสาร
 


หมีแพนด้าจะใช้กลิ่น อะซิติค ที่หลั่งออกมาจากบริเวณ ต่อมที่อยู่ใกล้ๆกับอวัยวะสืบพันธุ์ ไว้ตามต้นไม้ ก้อนหิน และใช้เสียงในการกำหนดขอบเขต โดยส่วนมากจะเป็นหมีเพศผู้ ส่วนการใช้เสียงของหมีเพศเมีย จะมีในช่วงที่จะผสมพันธุ์ การสื่อสารในสัตว์นั้นมีได้หลากหลายวิธี และทุกวิธีมีเป้าหมายสูงสุดในแง่ของความเข้าใจ ในสัตว์ชนิดเดียวกัน โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีวิธีการและช่องทางสื่อสารในสัดส่วนที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับคลังข้อมูลในการสื่อสารทั้งหมดของสัตว์ สภาพแวดล้อมที่สัตว์อาศัยอยู่ โครงสร้างของร่างกาย และความสามารถของอวัยวะรับสัมผัสของสัตว์แต่ละชนิด เช่น การสื่อสารส่วนใหญ่ในนกจะใช้ช่องทางในการสื่อสารด้วยภาพ และการสื่อสารด้วยเสียงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันส่วนการสื่อสารด้วยสารเคมีนั้นพบได้น้อยมาก หรือไม่พบเลย


แหล่งทีมา...http://www.mwit.ac.th/~physicslab/content_01/sutut/panda.html


ถิ่นที่อยู่


หมีแพนด้าจะอาศัยอยู่ที่ระดับสูง 1200-3500 เมตร ในป่าเขา ซึ่งมีต้นไม้ไผ่ขึ้นหนาแน่น เเละจะพบหมีแพนด้าเพียงตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน แนวเขตที่ราบสูงของ ทิเบต ใน 6 พื้นที่เล็กๆ ของจังหวัด Sichuan Gansu และ Shaanzi รวมแล้วมีพื้นที่เพียง 14000 ตร.กม.

  

แหล่งทีมา...http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-3/no29-39/P3.htm

 

ลักษณะเด่น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลักษณะเด่นแพนด้า
ลักษณะที่โดดเด่นของ หมีแพนด้า คือมีขนสีดำและสีขาว บริเวณหัว คอ ตะโพก จะมีสีขาว ส่วนรอบๆตาทั้งสองข้าง หู ไหล่ ขาหน้า และขาหลังจะมีสีดำ หัวของหมีแพนด้า จะใหญ่เมื่อเทียบกับสัดส่วนของตัว 
กว่าหมีชนิดอื่นๆ เท้าหน้ามี 6 นิ้ว พร้อมที่จะกางกว้างออกเมื่อปะทะกัน หรือปีนต้นไม้
ขนาดหมีแพนด้าเพศผู้ขนาดตัวโตเต็มที่ สูงประมาณ 160-190 ซม. จะสูงกว่าเพศเมียเล็กน้อย มีขาหน้าที่แข็งแรง และหนัก 85-125 กก. เพศเมียหนัก 70-100 กก. ลูกหมีเพิ่งคลอดหนักเพียง 85-140 กรัม


แหล่งทีมา... http://th49.ilovetranslation.com/DqZVWjZZASS=d/
ประวัติหมีแพนด้า



เนื่องจากในสมัยดึกดำบรรพ์ แพนด้ายักษ์ หรือ ต้าสงเมา มีอยู่มากมาย กระจายตามถิ่นต่างๆทั่วประเทศจีน ในบันทึกเรื่องเกี่ยวกับแพนด้าของจีน จึงมีคำเรียกสัตว์ชนิดนี้ ในภาษาจีนแตกต่างหลากหลาย อาทิ ‘ผี’หรือ‘ผีซิ่ว’(ชื่อที่เรียกในสมัยโบราณ) ‘ไป๋สง’(หมีขาว) ‘ฮัวสง’(หมีลาย) ‘จู๋สง’(หมีไผ่) บางถิ่นเรียกแตกต่างออกไป เช่น แถบเทือกเขาหมินซันบริเวณถิ่นที่อยู่ของชนชาติทิเบต เรียก ‘ตั้ง’ หรือ ‘ตู้ต้งก่า’ แต่ชนชาติอี๋แถบเทือกเขาเหลียงซัน เรียก ‘เอ๋อชีว์’ เป็นต้น
熊猫 (สงเมา) คำเรียกแพนด้าในภาษาจีนกลาง ‘สง’แปลว่า หมี ‘เมา’แปลว่า แมว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ailuropoda melanoleuca แปลว่า สัตว์ที่มีลำตัวเป็นสีขาวดำ มีเท้าเหมือนแมว
‘สงเมา’ (แมวที่เหมือนหมี) เป็นคำเรียกในปัจจุบัน แต่จริงๆแล้ว ช่วงจีนก่อนยุคปลดแอกได้เคยเรียกแพนด้าว่า ‘เมาสง’(หมีที่เหมือนแมว)มาก่อนนะจ๊ะ 猫熊(เมาสง) เป็นศัพท์บัญญัติขึ้นในช่วงประวัติศาสตร์จีนยุคปัจจุบัน หมายถึง สัตว์ที่มีหน้าตากลมๆอ้วนๆคล้ายแมว แต่รูปร่างใหญ่คล้ายหมี จนบางคนถึงกับจัดมันให้อยู่ในประเภทเดียวกันกับหมี
เนื่องจากคนจีนในสมัยก่อนเวลาเขียนหนังสือจะเขียนตัวอักษรไล่จากบน ลงล่างตามแนวตั้ง และอ่านจากแถวขวาไปซ้าย ซึ่งแตกต่างจากการเขียนในปัจจุบัน ที่เรียงตัวอักษรตามแนวนอน และอ่านจากซ้ายไปขวา มีครั้งหนึ่งเมื่อพิพิธภัณฑ์เป่ยเป้ย ในมณฑลซื่อชวน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแพนด้าในประเทศจีน ได้จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าเมาสงนี้ และได้เขียนคำอธิบายตามแบบการเขียนในปัจจุบัน แต่บังเอิญมีผู้เข้าชมคนหนึ่งแกติดนิสัย การอ่านหนังสือแบบจีนรุ่นเก่า เลยอ่าน ‘เมาสง’ เป็น ‘สงเมา’ เสียนี่ ตั้งแต่นั้นจึงเรียกติดปากกันต่อๆมาอย่างผิดๆนี่แหละ
อย่างไรก็ตามจะแมวหมีหรือหมีแมว นักชีววิทยาก็จัดแพนด้าอยู่ในสัตว์ประเภทหมี ซึ่งแน่นอนไม่ใช่ประเภทเดียวกับแมวจ้า           

แหล่งทีมา... thirawatbanyouk